• 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • X
  • Z
  • M
  • i
  • Review
  • Classic
  • Concept
  • News
  • บทความพิเศษ
    • สู่โลก BMW
    • เจาะอดีตรถเด่น
    • เทคนิคและการปรับแต่ง
  • ราคา BMW
Search
Bimmer-TH
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • X
  • Z
  • M
  • i
  • Review
  • Classic
  • Concept
  • News
  • บทความพิเศษ
    • สู่โลก BMW
    • เจาะอดีตรถเด่น
    • เทคนิคและการปรับแต่ง
  • ราคา BMW
Home M
  • M

ไขปริศนาที่มาของโลโก้ BMW M

By
Thanapol Ratanaboon
-
June 5, 2020

แฟนพันธุ์แท้ BMW ย่อมรู้จัก BMW M แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักที่มาที่ไปของโลโก้นี้ เราจะพาไปสืบค้นแฟ้มประวัติที่อยู่ในห้องเอกสาร ณ ตึกบัญชาการใหญ่ของ BMW ที่มิวนิกเพื่อหาคำตอบและความทรงจำในอดีตอันสวยงาม

แฟนบีเอ็มดับเบิลยูทุกคนย่อมรู้จักแผนกทำรถยนต์ตัวแรงของค่ายที่ชื่อ “BMW M” กับโลโก้แถบสามสีที่มีตัวอักษร M เอียงต่อท้าย มันเป็นเวลาถึงสี่ทศวรรษเศษ ตั้งแต่วันที่ผลงานที่ขายภายใต้ชื่อของแผนกเป็นชิ้นแรกอย่าง BMW M1 ได้แตะพื้นถนนสาธารณะเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นแผนกงานประจำค่ายรถยนต์แห่งแคว้นบาวาเรียนี้ ก็ทำคลอด BMW ตัวแรงออกมาอาละวาดบนท้องถนนอีกนับไม่ถ้วน ทั้ง BMW M5 E28, BMW M3 E30, BMW M3 CSL และตัวเจ็บระดับตำนานรุ่นอื่นๆ อีกมากมาย เรื่องราวและที่มาที่ไปของแผนกนี้หลายคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบด้วยว่าโลโก้สามสีของ BMW M นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร กลุ่มคนที่น่าจะถูกขนานนามว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ระดับหัวกะทิ

BMW Motorsport GmbH

…คือชื่อดั้งเดิมของ BMW M มันถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1972 ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น BMW M GmbH ที่พวกเราคุ้นเคยมากกว่ากันในช่วงปี 1993 BMW Motorsport GmbH กำเนิดขึ้นได้จากวิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่เพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นบอร์ดบริหาร BMW AG ในช่วงต้นยุค 1970s พวกเขามองว่าแรงผลักดันที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักขององค์กร BMW มาโดยตลอดก็คือความสำเร็จในการแข่งขัน และท่ามกลางโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งทำให้บริษัทต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลานั้น มันสำคัญอย่างยิ่งที่บริษัทควรจะต้องผนึกกำลังจากกิจกรรมเกี่ยวกับมอเตอร์สปอร์ตที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงภายในบริษัท ณ ขณะนั้น ให้รวมศูนย์เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน พูดกันให้เข้าใจง่ายแบบสุภาษิตไทยก็คือ “รวมกันเราอยู่…”

คนที่บอร์ดของ BMW AG เลือกมานั่งเป็นแม่ทัพบริหารงานด้านมอเตอร์สปอร์ตคนแรกของ BMW Motorsport GmbH ก็คือ Jochen Neerpasch (คนซ้ายในภาพข้างบน) ซึ่งนอกจากจะมีตำแหน่งหลักเป็นกรรมการผู้จัดการของ BMW Motorsport GmbH แล้ว เขาก็ยังถืออีกตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการแผนกแข่ง (Race Director) ด้วย ประวัติของ Neerpasch นั้นไม่ธรรมดา ก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับ BMW เขาเคยเป็นนักแข่งอาชีพให้กับทีม Porsche และเป็นผู้จัดการแผนกแข่งของ Ford ซึ่งประจำอยู่ที่เมืองโคโลญ ก่อนจะย้ายเข้ามามิวนิกเพื่อรับตำแหน่งนี้ที่ BMW เรื่องราวแฟ้มประวัติของ BMW พบว่า Neerpasch น่าจะเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีส่วนร่วมในการคิดค้นโลโก้และสีแห่ง BMW Motorsport ร่วมพนักงานอีกสองท่านคือ Wolfgang Seehaus นักออกแบบภายใน BMW และ Manfred Rennen นักออกแบบภายนอก BMW จนออกมาได้เป็นแถบสีฟ้า แดง และม่วง  

..ใช่แล้วครับ “ม่วง” คุณอ่านไม่ผิด ก่อนที่แถบสีของ BMW M จะเป็น “ฟ้า น้ำเงิน แดง” อย่างทุกวันนี้ สีแถบตรงกลางเคยเป็นสีม่วงมาก่อน Marc Thiesbürger นักประวัติศาสตร์ประจำ BMW Group Classic ค้นประวัติและเอกสารต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในสมัยนั้น แล้วสรุปความหมายออกมาได้ว่า สีฟ้าคือสีประจำ BMW (ซึ่งก็คือสีของธงแคว้นบาวาเรีย) ส่วนสีแดงหมายถึง Motorsport ที่น่าจะได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้ Texaco บริษัทน้ำมันชื่อดัง (ในเมืองไทยคือ Caltex) ส่วนสีม่วงน่าจะเป็นสีผสมกันระหว่างฟ้ากับแดง และใช้เป็นสะพานเชื่อมสองแถบสีด้านนอกเข้าด้วยกัน ทว่าความร่วมมือระหว่าง BMW กับ Texaco ก็หยุดชะงักตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มต้นในช่วงปลายปี 1972 แม้ว่าในแฟ้มประวัติของ BMW Group จะพบงานดีไซน์รถแข่งฝีมือ Seehaus ที่มีโลโก้ Texaco อยู่บนตัวรถหลากหลายรุ่นแล้วก็ตาม

แต่นั่นก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของ Thiesbürger เท่านั้น ซึ่งมันออกจะแปลกอยู่เหมือนกันที่ Seehaus จะหยิบเอาโลโก้ของ Texaco ที่ยังไม่ทันบรรลุข้อตกลงการเป็นพันธมิตรใดๆ มารวมอยู่ในงานออกแบบลายคาดบนรถแข่งแล้ว โดยเฉพาะเมื่อตอนนั้น BMW ยังเป็นพันธมิตรกับ Castrol ในการแข่งขันซึ่งใช้โลโก้สีเขียวอยู่ด้วย Rennen เองก็ปฏิเสธเช่นเดียวกัน โดยเขาบอกว่าสีแดงไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องอะไรกับ Texaco แต่ Neerpasch บอกว่า Texaco มีอิทธิพลต่อการออกแบบในระดับนึง และเขายังบอกต่อด้วยว่าที่เป็นสามสีนี้ก็เพราะมันดูเด่นออกมาไม่ว่าจะอยู่บนพื้นหลังสีขาวหรือดำ ในทุกวันนี้ BMW M ให้นิยามแถบสามสีเอาไว้ว่า “ฟ้าคือ BMW แดงคือ Motorsport และม่วงคือสีเอกลักษณ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างสองสี” ซึ่งถ้าคุณเปลี่ยนสีม่วงมาเป็นสีน้ำเงินเข้มในตอนนี้ มันก็ยังถูกต้องอย่างไม่ผิดเพี้ยน

“Giugiaro M”

มีเรื่องนึงที่หลายคนมักจะลืมไปก็คือ แถบสามสีนั้นถูกนำมาใช้ก่อนการกำเนิดของโลโก้ BMW M อยู่นานสองนาน รถคันแรกที่ใช้ก็คือ BMW 3.0 CSL ตัวแข่งของบริษัทในปี 1973 ซึ่งเป็นการออกแบบร่วมกันระหว่าง Pierre Mendell กับ Rennen และแถบสามสีนี้ก็ยังถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มาจนถึงรถแข่งรุ่นปัจจุบันของค่ายอย่าง BMW M8 GTE ในลวดลายและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

โลโก้ BMW M แบบที่เราคุ้นเคยกันนั้นถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี 1978 พร้อมกับการเปิดตัว BMW M1 รถถนนรุ่นแรกจาก BMW Motorsport GmbH โดยการนำตัวอักษร M มาต่อท้ายจากแถบสามสีที่ทำมุมเอียงไปด้านขวา เพื่อที่จะสื่อถึงความเร็วและความไดนามิกส์ของรถยนต์ตระกูล M มันเป็นงานดีไซน์ของนักออกแบบชาวอิตาลีชื่อดังยัง Giorgio Giugiaro จึงมีชื่อเรียกในวงการอีกอย่างว่า “Giugiaro M” และก็ใช้แบบนั้นเรื่อยมาบนรถ BMW M ทุกรุ่นจนถึงปัจจุบัน

ถึงกระนั้น โลโก้ BMW M ก็ถูกขัดเกลาให้เหมาะสมกับกาลเวลา โดยการปรับปรุงล่าสุดก็คือเมื่อเดือนมีนาคม 2020 พร้อมกับการปรับโลโก้ BMW และสัญลักษณ์อื่นๆ ของทั้งองค์กร ปัจจุบันโลโก้ BMW M จะมีรูปแบบเป็นสองมิติที่ดูทันสมัยขึ้นเมื่อเทียบกับของเดิมที่เป็นสามมิติ และมีการเพิ่มสีขาวเข้าไปเป็นสีที่ 4 ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นสีของตัวอักษร M นั่นเอง

เรื่องราวโลโก้ BMW M นั้นเปรียบเสมือนกับเรื่องเล่าที่มีการบันทึกไว้ในหลายแง่มุม ข้อสรุปที่เราได้ก็คือ Wolfgang Seehaus นักออกแบบของ BMW มีบทบาทหลักในการออกแบบ และอย่างน้อย Manfred Rennen นักออกแบบอีกท่านก็มีส่วนในการช่วยออกแบบแถบสามสี เอเจนซีกราฟฟิค Müller เป็นคนรับผิดชอบการสร้าง Emblem BMW M ส่วนลวดลายที่ปรากฏบนตัวรถแข่งนั้นมาจากสตูดิโอออกแบบของ Pierre Mendell

สรุปในสรุปก็คือมันเป็นงานความร่วมมือของหลายหน่วยงานจนได้ออกมาเป็นผลงานชั้นยอด ยอดตรงไหนน่ะหรือครับ? ก็ตรงที่มันถูกใช้มากว่าสี่ทศวรรษแล้วก็ยังไม่เคยมีใครคิดจะเปลี่ยนแบบ Model Change เลยสักหนเดียว

วันนี้เราค้นพบว่า นอกจาก M จะเป็นตัวอักษรที่ทรงพลังที่สุดในโลกแล้ว แถบสีฟ้า น้ำเงิน แดงของ BMW M ก็น่าจะเป็นชุดแถบสีที่ทรงพลังที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน

“BMW M Power”

The following two tabs change content below.
  • Bio
  • Latest Posts

Thanapol Ratanaboon

มนุษย์เงินเดือนผู้คลั่งไคล้ในรถยนต์สมรรถนะยอดเยี่ยม นักแข่งรถสมัครเล่นที่มักจะพบเห็นวิ่งดมฝุ่นอยู่ท้ายสนาม คุณพ่อของลูกสาวที่น่ารัก และหนึ่งในทีมงาน Bimmer-th.com

Latest posts by Thanapol Ratanaboon (see all)

  • เริ่มผลิตระบบขับเคลื่อน E-Drive สำหรับ BMW iX กับ BMW i4 พร้อมจำหน่ายในตลาดโลกครึ่งหลังปี 2021 - May 29, 2021
  • ครั้งแรกกับเสียงของรถยนต์ไฟฟ้าจาก BMW M - May 22, 2021
  • ฉลอง 10 ปี BMW i ภารกิจล้มกระดานเพื่อเริ่มนับหนึ่งใหม่ เพื่อสร้างสรรค์รถ EV ที่รักคุณและรักโลกเท่ากัน - April 20, 2021

Comments

comments

  • TAGS
  • BMW
  • BMW Classic
  • BMW History
  • BMW M
  • BMW M Logo
  • History of M
  • M Power
  • M Tricolor
Previous articleTRK กับศิลปะที่เชื่อมความเป็นไทยสู่ใจของยานยนต์ ใน BMW Unbound World of Art Series
Next articleEXPERIENCE THE 7 “THE MASTERPIECE” นิยามแห่งผลงานชิ้นเอก โดย คุณสุริยน ศรีอรทัยกุล
Thanapol Ratanaboon

RELATED ARTICLESMORE FROM AUTHOR

รีวิว BMW M340i xDrive ควบ 387 แรงม้าไปกับ Sedan 4 ประตูสุดโหด

10 สูตร(ไม่)ลับที่จะทำให้การใช้รถ EV เป็นเรื่องง่าย

BMW 2 Series Coupe ใหม่ รหัส G42 สนุกแบบขับหลังได้เช่นเดิม

ติดตามเราบน Facebook

More from Bimmer-TH

World Premiere เปิดตัว BMW 8 Series Concept อย่างเป็นทางการ

May 26, 2017

BMW i8 ได้รับรางวัลเครื่องยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี ติดต่อกันปีที่3

June 25, 2017

BMW เดินหน้าชูเซกเมนต์รถหรูตามแผนการยกระดับแบรนด์ให้เหนือชั้น

October 14, 2017

ซีรีส์ 5 ปลั๊กอินมาแล้ว! เปิดตัว BMW 530e ราคาเริ่มต้น 3,639,000 บาท เปิดจอง Motor...

November 16, 2017

Spyshot : BMW 7 Series LCI มาพร้อมกระจังหน้าขนาดใหญ่ และ ไฟหน้าที่เรียวเล็กลง

January 8, 2019

ใกล้มากแล้ว BMW เผยภาพการทดสอบสุดโหดของ BMW X5 โฉมใหม่

May 23, 2018

เผยโฉมชุดแต่ง BMW M Performance Accessories สำหรับ 5-Series G30 ใหม่

November 30, 2016

รีวิว BMW X6 xDrive​30d M Sport ใหญ่ ยักษ์ น่าเกรงขาม!

December 27, 2020
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7
  • 8
  • X
  • Z
  • M
  • i
  • Review
  • Classic
  • Concept
  • News
  • บทความพิเศษ
    • สู่โลก BMW
    • เจาะอดีตรถเด่น
    • เทคนิคและการปรับแต่ง
  • ราคา BMW
© Copyright 2016-2018 - Bimmer-TH